หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
Bachelor of Science Program in Crop Production Technology
1. ชื่อหลักสูตร |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
Bachelor of Science Program in Crop Production Technology คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา |
ชื่อเต็มภาษาไทย วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Science (Crop Production Technology) ชื่อย่อภาษาไทย วท.บ. (เทคโนโลยีการผลิตพืช) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.Sc. (Crop Production Technology) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. ปรัชญาหลักสูตร |
สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ ทักษะการปฏิบัติ และความคิดสร้างสรรค์ในด้านเทคโนโลยีการผลิตพืช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง |
1. ประยุกต์ใช้หลักการด้านการผลิตพืชตั้งแต่กระบวนการปลูกจนกระทั่งการดูแลรักษา การจัดการผลผลิต การเพิ่มมูลค่า กระบวนการแปรรูป และสามารถปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการทางการตลาด และสินค้าทางการเกษตรได้
2. สามารถนำเทคโนโลยีทางการเกษตรและสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถคำนวณและวิเคราะห์เชิงตัวเลขทางการเกษตรได้ 3. มีความเป็นผู้นำ ความอดทน และความรับผิดชอบ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการเกษตร และสามารถนำความรู้ด้านการผลิตพืชมาใช้ในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตโดยคำนึงถึงจิตสำนึกที่ดีต่อวิชาชีพ 4. สามารถนำทักษะด้านปฏิบัติการมาประยุกต์ใช้พัฒนาตัวเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5. เกณฑ์การรับเข้า |
ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นตามกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6. ระยะเวลาการจัดการศึกษา |
หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาการ หลักสูตร 4 ปี
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7. โครงสร้างหลักสูตรและข้อกำหนด |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา |
(1) นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ศูนย์หม่อนไหม ศูนย์อารักษาพืชโดยชีววิธี องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และนักวิชาการประจำหนํวยงานของภาครัฐ เช่น สถานีวิจัยพืชสวน สถานีวิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยพันธุ์พืช เป็นต้น (2) นักวิจัยประจำบริษัท (3) นักวิชาการด้านพืช (4) ฝ่ายส่งเสริมการขาย (5) เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพของสินค้าด้านพืช เชํน เมล็ดพันธ์ หรือ ผลิตภัณฑ์อาหารจากผักและผลไม้ (6) ประกอบธุรกิจส่วนตัว เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ สวนผัก ไม้ผล ผลิตพืชไร่ จำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ด้านการจัดสวน เกษตรผสมผสาน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9. สถานที่จัดการเรียนการสอน |
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10. ภาพกิจกรรม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11. วันที่ปรับปรุง |
25 กุมภาพันธ์ 2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12. มคอ. 2 |
วท.บ.เทคโนโลยีการผลิตพืช ฉบับปี พ.ศ. 2564
วท.บ. เทคโนโลยีการผลิตพืช ฉบับปี พ.ศ. 2560 วท.บ. เทคโนโลยีการผลิตพืช ฉบับปี พ.ศ. 2555 วท.บ. เทคโนโลยีการผลิตพืช ฉบับปี พ.ศ. 2549
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13. คู่มือนักศึกษา |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช (ปรับปรุง 2564) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14. ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
Facebook: https://www.facebook.com/cropsu/ |