หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์
(Bachelor of Science Program in Animal Science)
1. ชื่อหลักสูตร |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ (Bachelor of Science Program in Animal Science) คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา |
ชื่อเต็มภาษาไทย วิทยาศาสตรบัณฑิต (สัตวศาสตร์) ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Science (Animal Science) ชื่อย่อภาษาไทย วท.บ. (สัตวศาสตร์) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.Sc. (Animal Science) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3. ปรัชญาหลักสูตร |
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านสัตวศาสตร์ที่มีความพร้อมในการทำงาน บูรณาการความรู้ นวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาทางสัตวศาสตร์ มีความสามารถเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง |
1. จัดการการเลี้ยงปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม การให้อาหารสัตว์ การเพาะขยายพันธุ์ การคำนวณสมรรถภาพการผลิตและต้นทุนการผลิตได้ 2. วางแผนการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์ การจัดการผลิตผลจากสัตว์ อาหารปลอดภัย และเลือกวิธีการจัดการสิ่งแวดล้อมของฟาร์มปศุสัตว์โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ประยุกต์หลักการตลาดกับการผลิตปศุสัตว์เพื่อเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการ แก้ปัญหาทางด้านการผลิตปศุสัตว์โดยบูรณาการความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือ นวัตกรรมได้ 4. ใช้วิธีการสื่อสารวิชาการทางด้านสัตวศาสตร์ควบคู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีภาวะผู้นำ ผู้ตาม การเรียนรู้ตลอดชีวิต การทำงานร่วมกับผู้อื่น และเป็นผู้มีจริยธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5. เกณฑ์การรับเข้า |
ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรอื่นตามกระทรวงศึกษาธิการกำหนด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6. ระยะเวลาการจัดการศึกษา |
หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาการ หลักสูตร 4 ปี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7. โครงสร้างหลักสูตรและข้อกำหนด |
หมายเหตุ *ขณะนี้หลักสูตรอยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อใช้ในปี พ.ศ.2564 ดังนั้น ข้อมูลโครงสร้างหลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา |
8.1 นักวิชาการสัตวบาล/สัตวศาสตร์ นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ประจำหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับทางปศุสัตว์ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาชุมชน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นต้น 8.2 นักวิชาการเกษตร นักวิชาการพัฒนาชุมชน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และเจ้าหน้าที่หน่วยงานของภาครัฐวิสาหกิจ และเอกชน 8.3 นักสัตวบาลประจำฟาร์ม สัตวบาลส่งเสริม สัตวบาลฟาร์มทดลอง และสัตวบาลโรงฟัก 8.4 นักวิชาการอาหารสัตว์ฝ่ายประกันคุณภาพ (QA) และ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ (QC) ประจำโรงงานอาหารสัตว์ 8.5 นักวิชาการส่งเสริมการขาย 8.6 เจ้าหน้าที่โรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ และเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพของสินค้าทางด้านปศุสัตว์ 8.7 เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ 8.8 เจ้าของธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์และการประกอบธุรกิจส่วนตัว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9. สถานที่จัดการเรียนการสอน |
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10. ภาพกิจกรรม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11. วันที่ปรับปรุง |
1 ธ.ค. 2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12. มคอ. 2 |
วท.บ.สัตวศาสตร์ ฉบับปี พ.ศ. 2564 วท.บ. สัตวศาสตร์ ฉบับปี พ.ศ. 2560 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13. คู่มือนักศึกษา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14. ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง |
Facebook: https://www.facebook.com/animalscience.su?mibextid=kFxxJD |